พันธะไอออนิก (IONIC BOND)
เป็นพันธะที่เกิดจากแรงกระทำระหว่างอะตอม 2 อะตอมที่มีประจุต่างกัน โดยจะเกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน ทำให้เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างประจุที่ต่างกัน พันธะไอออนิกจะเกิดระหว่างโลหะรวมตัวกับอโลหะ และเกิดขึ้นระหว่างธาตุที่มีค่า EN ต่างกันมาก
จากตัวอย่าง Na ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 ได้ให้อิเล็กตรอนแก่ Cl ที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 จึงทำให้ Na และ Cl มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 เกิดเป็นสารประกอบไอออนิก
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก
ตารางธาตุช่วยจำประจุของไอออนชนิดต่าง ๆ โดยโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำจึงเสียอิเล็กตรอนง่ายกลายเป็นไอออนบวก ส่วนอโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูงจึงเป็นฝ่ายรับอิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนลบ ดังรูป
การเขียนสูตรเอ็มพิริกัลของสารประกอบไอออนิก ต้องรู้ค่าประจุของแต่ละไอออนที่มีในสารประกอบนั้น สารประกอบมักมีสมบัติเป็นกลางเสมอ ดังนั้นต้องทำให้ไอออนในสารประกอบไอออนิกมีอัตราส่วนของประจุบวกและลบเท่ากัน เช่น NaCl มี Na ประจุ + และ Cl ประจุ - เป็น 1:1 และ BaCl2 มี Ba ประจุ 2+ และ Cl ประจุ - เป็น 1:2 จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าถ้าประจุที่ไอออนบวกเท่ากับประจุไอออนลบตัวเลขที่กำกับด้านล่างของสัญลักษณ์ไอออนจะเป็น 1 แต่ถ้าประจุไม่เท่ากัน ตัวเลขที่เป็นค่าของประจุบนไอออนหนึ่งจะเป็นตัวเลขที่กำกับจำนวนไอออนของอีกตัวหนึ่ง ดังนี้
เพิ่มเติม ตารางนี้เป็นตารางแสดงกลุ่มอะตอม ทำหน้าที่เหมือนไอออนบวก ไอออนลบได้
การนำไปใช้ในการเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก ให้ถือว่ากลุ่มของอะตอมเหล่านี้นั้นแสดงสมบัติเหมือนกับไอออนของอะตอมเดียว คือ เมื่อรวมกับไอออนที่มีประจุต่างชนิดได้สารประกอบไอออนิกซึ่งมีผลรวมของประจุเป็นศูนย์ เช่น NH4 ประจุ+ กับ SO4 ประจุ2- รวมกันด้วยอัตราส่วนของจำนวนไอออนเป็น 2 : 1 ได้สารประกอบมีสูตรเป็น (NH4)2SO4 เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น