การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม


          
ธาตุเลขอะตอมจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน
n = 1n = 2n = 3n = 4
H
He
Li
Be
B
C
N
O
F
Ne
Na
Mg
Al
Si
P
S
Cl
Ar
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
1
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2   

1
2
3
4
5
6
7
8
8
8
8
8
8
8
8
8






1
2
3
4
5
6
7
8
 
  
         
  ระดับพลังงานที่ 3(n = 3) มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุดเท่าไร

เมื่อพิจารณาข้อมูลในตาราง จะพบว่าจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่  1  มีได้มากที่สุด  2  อิเล็กตรอนระดับพลังงานที่   3 นั้น จากการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ทราบว่ามีได้มากที่สุด 18 อิเล็กตรอน นั่นคือ จำนวนอิเล็กตรอนมากที่สุดที่มีได้แต่ละระดับพลังงานจะมีค่าเท่ากับ \displaystyle 2n^2 เมื่อ n คือ ตัวเลขแสดงระดับพลังงาน
          นักเรียนคิดว่าธาตุ K และ Ca ซึ่งมีเลขอะตอม 19 และ 20 ตามลำดับ มีจำนวนระดับพลังงานเท่าใด และในแต่ระดับพลังงานมีจำนวนอิเล็กตรอนอยู่เท่าใด
          นักเรียนบางคนอาจคิดว่าการจัดอิเล็กตรอนของธาตุ K และ Ca ควรเป็น K  2  8  9  และ Ca  2  8  10  ทั้งนี้เพราะในระดับพลังงานที่ 3  ควรมีอิเล็กตรอนได้สูงสุดถึง  18  อิเล็กตรอน  แต่จากข้อมูลและประจักษ์พยานหลายอย่างทำให้ทราบว่าการจัดอิเล็กตรอนของสองธาตุนี้เป็นดังนี้ K  2  8  8  1  และ  Ca  2  8  8  2  ซึ่งหมายความว่าอิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่  3  ของทั้งสองธาตุนี้มีเพียง  8  อิเล็กตรอน และส่วนที่เพิ่มมาอีก  1  หรือ  2  อิเล็กตรอนนั้นเข้าไปอยู่ในระดับพลังงานที่  4 ก่อนที่ระดับพลังงานที่  3  จะมีอิเล็กตรอนครบ  18  ข้อมูลดังกล่าวนี้จะอธิบายได้ว่าอย่างไร
          จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์โดยอาศัยสมบัติที่เป็นคลื่นของอิเล็กตรอน และใช้ความรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม เพื่อนำไปอธิบายโคร้างสร้างอะตอม ทำให้ทราบว่าอิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานหรือวาง (shell) ต่างๆ กัน และในระดับพลังงานเดียวกันยังมีการแบ่งเป็นระดับพลังงานย่อย (sub shell) ต่างๆ ซึ่งกำหนดเป็นตัวอักษร s  p  d  และ  f  ตามลำดับด้วย ตัวอย่างจำนวนระดับพลังงานย่อยที่เป็นไปได้ในแต่ละระดับพลังงานตั้งแต่ระดับพลังงานที่  1 - 4  เป็นดังนี้
          ระดับพลังงานที่  1  (n = 1)  มี  1  ระดับพลังงานย่อยคือ s
          ระดับพลังงานที่  2  (n = 2)  มี  2  ระดับพลังงานย่อยคือ s  p
          ระดับพลังงานที่  3  (n = 3)  มี  3  ระดับพลังงานย่อยคือ s  p d
          ระดับพลังงานที่  4  (n = 4)  มี  4  ระดับพลังงานย่อยคือ s  p d  f
ตัวอย่างระดับพลังงานและระดับพลังงานย่อยของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอน แสดงดังรูป
 
 


          เนื่องจากอิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาความหนาแน่นของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนซึ่งวัดในรูปของโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสจึงมีอาณาเขตและรูปร่างใน  3  มิติแตกต่างกัน  บริเวณรอบนิวเคลียสซึ่งมีโอกาสสูงที่จะพบอิเล็กตรอนและมีพลังงานเฉพาะนี้เรียกว่า ออร์บิทัล ออร์บิทัลมีชื่อและรูปร่างแตกต่างกัน  โดยที่  s  ออร์บิทัลมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสเท่ากันทุกทิศทาง ทำให้มองเห็นว่าออร์บิทัลนี้มีรูปร่างเป็นทรงกลมรอบนิวเคลียส p ออร์บิทัลมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสอยู่ในบริเวณแกน x  y  และ z  จึงเรียกว่า \displaystyle p_x   \displaystyle p_y   และ \displaystyle p_z    ออร์บิทัลตามลำดับออร์บิทัลทั้งสามนี้มีรูปร่างคล้ายดัมเบลล์ มีพลังงานเท่ากันแต่มีทิศทางแตกต่างกัน ส่วน d  ออร์บิทัลมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยสองออร์บิทัลคือ \displaystyle d_{z^2 } และ \displaystyle d_{x^2 } _{ - y^2 }  มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสอยู่ในบริเวณแกน z และแกน  x กับแกน y  ตามลำดับ  ส่วนอีกสามออร์บิทัลคือ  \displaystyle d_{xy} d_{yz} d_{xz}  ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนจะอยู่ในบริเวณระหว่างแกน x กับ y แกน y กับ z และแกน x กับ z  ตามลำดับ รูปร่างออร์บิทัล s  p  และ  d  แสดงได้ดังตัวอย่างในรูป  
 



          ในกรณีของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอน ระดับพลังงานย่อยที่อยู่ในระดับพลังงานเดียวกันจะมีพลังงานแตกต่างกันดังแสดงในรูป 1.19 และในแต่ละระดับพลังงานย่อยจะมีจำนวนออร์บิทัลแตกต่างกันดังนี้
          ระดับพลังงานย่อย  s  มี  1  ออร์บิลทัล
          ระดับพลังงานย่อย  p  มี  3  ออร์บิลทัล
          ระดับพลังงานย่อย  d  มี  5  ออร์บิลทัล
          ระดับพลังงานย่อย  f  มี  7  ออร์บิลทัล
          นักเรียนคิดว่าในแต่ละออร์บิทัลจะมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่าใด จำนวนอิเล็กตรอนสูงสุดในออร์บิทัลที่อยู่ในระดับพลังงานย่อย  s  p  d และ  f  มีค่าเท่าใด  ให้พิจารณาจากข้อมูลในตาราง 
 

 จากความรู้ที่กล่าวมาแล้ว เมื่อนำมาใช้บรรจุอิเล็กตรอนของอะตอมหนึ่งๆ ลงในออร์บิทัลที่เหมาะสมมีหลักการสำคัญที่ต้องนำมาใช้พิจารณาเพิ่มเติมดังนี้
          1.  ใช้หลักการกีดกันของเพาลีที่กล่าวว่า อิเล็กตรอนคู่หนึ่งคู่ใด ในออร์บิทัลเดียวกันจะต้องมีสมบัติไม่เหมือนกันอย่างน้อยอิเล็กตรอนคู่นั้นต้องมีลักษณะการหมุนรอบตัวเองแตกต่างกัน โดยตัวหนึ่งหมุนตามเข็มนาฬิกาและอีกตัวหนึ่งหมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อให้ระบุได้ว่าเป็นอิเล็กตรอนตัวใดเมื่ออิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงาน ระดับพลังงานย่อยและออร์บิทัลเดียวกัน ดังนั้นจึงกำหนดให้บรรจุอิเล็กตรอน ลงในออร์บิทัลได้สูงสุด 2 อิเล็กตรอน ถ้าในที่นี้เขียนแทนออร์บิทัลด้วย   อิเล็กตรอนเขียนแทนด้วยลูกศรอิเล็กตรอนในออร์บิทัลจึงเขียนแสดงได้เป็น      หรือ      โดยหัวลูกศรแสดงทิศทางการหมุนของอิเล็กตรอน  1  ใน  2  แบบที่เป็นไปได้คือการหมุนตามหรือทวนเข็มนาฬิกาในกรณีมีอิเล็กตรอนอยู่เต็มออร์บิทัล การเขียนที่ยอมรับได้คือ       ถ้าเขียนเป็น    หรือ        จัดว่าไม่สอดคล้องตามหลักการกีดกันของเพาลี
          2.  การบรรจุอิเล็กตรอนต้องบรรจุในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำสุดและว่างอยู่ก่อนเสมอ (ตามหลักของเอาฟบาว) คือ 1s  2s  2p  3s.... ตามลำดับ เพราะจะทำให้พลังงานรวมทั้งหมดมีค่าต่ำสุดและอะตอมมีความเสถียรที่สุด ในกรณีที่มีหลายออร์บิทัลและแต่ละออร์บิทัลมีพลังงานเท่ากัน เช่น 2p ออร์บิทัล  ซึ่งออร์บิทัลทั้งสามมีพลังงานเท่ากัน ให้บรรจุอิเล็กตรอนในลักษณะที่ทำให้มีอิเล็กตรอนเดี่ยวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ (ตามกฎของฮุนด์) เมื่อมีอิเล็กตรอนเหลือจึงบรรจุอิเล็กตรอนเป็นคู่เต็มออร์บิทัลนั้น เช่น มี  2  อิเล็กตรอนใน 2p ออร์บิทัล ให้บรรจุอิเล็กตรอนดังนี้     และถ้ามี 4 อิเล็กตรอนใน 2p ออร์บิทัล จะบรรจุอิเล็กตรอนได้เป็น   
 
          3.  อะตอมของธาตุที่มีการบรรจุอิเล็กตรอนเต็มในทุกๆ ออร์บิทัลที่มีพลังงานเท่ากันเรียกว่า การบรรจุเต็ม ถ้ามีอิเล็กตรอนอยู่เพียงครึ่งเดียวเรียกว่า การบรรจุครึ่ง การบรรจุเต็มหรือการบรรจุครึ่งจะทำให้อะตอมมีความเสถียรกว่าการบรรจุแบบอื่นๆ ตัวอย่างของออร์บิทัลที่บรรจุเต็มและบรรจุครึ่งแสดงได้ดังนี้
  
          ในกรณีที่อะตอมมีหลายอิเล็กตรอนการบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่างๆ ตามลำดับระดับพลังงานจากต่ำไปสูงอาจใช้แผนภาพดังนี้
 
          ในกรณีของไฮโดรเจนอะตอมซึ่งมี  1  อิเล็กตรอนเมื่ออะตอมอยู่ในสถานะพื้นอิเล็กตรอนอาจอยู่ใน  1s  ออร์บิทัลซึ่งมีพลังงานต่ำที่สุด จึงเขียนแผนภาพแสดงการบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลได้ดังนี้
 
          เพื่อความสะดวกจึงอาจเขียนสัญลักษณ์แสดงการจัดอิเล็กตรอนในออร์บิทัลได้เป็น \displaystyle ls^1 โดยมีความหมายดังนี้
 
          ฮีเลียนมี  2  อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนทั้งหมดจึงเข้าไปอยู่ใน  1s  ออร์บิทัล และบรรจุในลักษณะที่ทำให้อิเล็กตรอนมีทิศทางการหมุนรอบตัวเองแตกต่างกันตามหลักของเพาลีเขียนแผนภาพแสดงได้ดังนี้
        หรือ \displaystyle ls^2
          สำหรับธาตุ  Li  Be  B  C  N    O  F  และ  Ne  ซึ่งมีอิเล็กตรอน  3  4  5  6  7  8  9  และ  10  ตามลำดับ เขียนแผนภาพแสดงการบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลได้ดังนี้
 
          อิเล็กตอรนที่อยู่ในระดับพลังงานสูงสุดหรือชั้นนอกสุดของอะตอมเรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน ดังนั้นธาตุเบริลเลียมจึงมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 และฟลูออรีนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7

         
การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่างๆ ตามลำดับระดับพลังงานโดยอาศัยแผนภาพดังที่กล่าวมาแล้ว มีบางธาตุที่การบรรจุอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยไม่เป็นไปตามหลักการนั้น ตัวอย่างเช่น ธาตุ Cr เลขอะตอม 24 เขียนแผนภาพแสดงการบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่างๆ  ได้ดังนี้
           \displaystyle ls^2  \displaystyle 2s^2  \displaystyle 2p^6  \displaystyle 3s^2  \displaystyle 3p^6  \displaystyle 4s^1  \displaystyle 3d^5  ไม่ใช่  \displaystyle 4s^2  \displaystyle 3d^4  
หรือ Cu มีเลขอะตอม 29 บรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่างๆ ได้ดังนี้
           \displaystyle ls^2  \displaystyle 2s^2  \displaystyle 2p^6  \displaystyle 3s^2  \displaystyle 3p^6  \displaystyle 4s^1  \displaystyle  3d^{10}  ไม่ใช่  \displaystyle 4s^2  \displaystyle 3d^9  
          การที่บรรจุอิเล็กตรอนของธาตุ Cr เป็น \displaystyle 4s^1  \displaystyle 3d^5   โดยมีอิเล็กตรอนใน 3d ออร์บิทัล 5 อิเล็กตรอนนั้นเป็นการบรรจุครึ่ง ซึ่งทำให้อะตอมเสถียรกว่าการบรรจุแบบ \displaystyle 4s^2  \displaystyle 3d^4  ส่วนธาตุ Cu ซึ่งบรรจุอิเล็กตรอนเป็น \displaystyle 4s^1  \displaystyle  3d^{10}    จะเสถียรกว่าที่เป็น \displaystyle 4s^2  \displaystyle 3d^9  เพราะว่า 3d  ออร์บิทัลมีจำนวนอิเล็กตรอนเต็มทุกออร์บิทัลคือ 10 อิเล็กตรอนซึ่งเป็นการบรรจุเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น